วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย


  สาเหตุที่ร้านค้าออนไลน์ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จส่วนนึงเป็นลักษณะนิสัยของคนไทย ชอบเห็นสิ่งของก่อน แล้วค่อยซื้อ และยังร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน ที่ทำให้สามารถออกไปชอปปิ้ง ด้วยการเดินทางที่ใช้ระยะเวลาไม่นาน ไม่เหมือนต่างประเทศ ที่ห้างร้าน อยู่ไกลกันมาก การซื้อสินค้าออนไลน์ จึงสะดวกกว่า การเดินทางไปซื้อด้วยตัวเอง และความสะดวกสบาย ในการชำระเงินออนไลน์ ซึ่งคนไทยส่วนน้อย มีความรู้เรื่องการ การชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อยากซื้อ แต่ไม่รู้จะชำระเงินอย่างไร ? อีกทั้ง ผู้ที่จัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว ถึงแม้จะสวยงาม แต่ไม่มีคนเข้า!!

         1. ด้วยร้านค้าห้างในประเทศไทย มีมากมายภายใน 1 อำเภอ อาจจะมีมากกว่า 4 แห่งก็ได้ ทั้ง Big C, Carfu, Lotus , ห้างประจำท้องถิ่น หรือ 7-Eleven มีมากมาย อยากจะได้อะไรก็เดินทางไปดูได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น การจะให้เว็บไซต์ของเราซื้อขายผ่าน Internet ได้ จึงต้องมีความแตกต่างกับการซื้อขาย ในห้างร้านทั่วไป

         2.  การชำระเงินออนไลน์  จากงาน E-commerce E-Business Expo 2007 ที่เพิ่งผ่านไปไม่นาน จะเห็นได้ว่า ธนาคารต่าง ๆ ทั้ง ธ.กสิกรไทย  ธ.กรุงเทพฯ ฯลฯ ให้ความสำคัญกับการชำระเงินออนไลน์ และมีการจัดสัมมนาภายในงานอีกด้วย ทำให้เห็นได้ว่า ธนาคารต่าง ๆ เล็งเห็นถึงความสำคัญกับ E-commerce ในประเทศไทยที่มีโอกาสเติบโตได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ผู้ประกอบธุรกิจหลายหมื่นคน ให้ความสนใจมาก แต่บุคคลทั่วไป ที่ไม่มีความชำนาญในการใช้อินเทอร์เน็ต การจะให้หันมาใช้การซื้อขาย ผ่านเว็บไซต์ก็ยังคงเป็นเรื่องยากอยู่  ดังนั้นต้องให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น
          3. การทำประชาสัมพันธ์หรือ การโปรโมทเว็บให้คนรู้จัก การทำเว็บไซต์เพื่อค้าขาย ก็เหมือนกับการเปิดร้านค้า ถ้าไม่โปรโมท ถ้าไม่บอกให้คนรู้ เว็บไซต์ก็จะไม่มีคนรู้จัก การทำเว็บไซต์ผู้ประกอบกิจการหลายแห่ง ให้ความสำคัญกับความสวยงามของเว็บ โดยการใช้อนิเมชั่นให้สวยงาม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การใช้งานของเว็บไซต์ ที่ต้องคำนึงถึงผู้ใช้งาน มากกว่า เจ้าของเว็บ เว็บไซต์ต้องใช้งานง่าย เข้าถึงได้รวดเร็ว และสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยในปัจจุบันที่ ทุกคนในโลกอินเทอร์เน็ตรู้จักกันดีคือ Search Engine ชั้นนำของโลกอย่าง Google หากสามารถทำให้สินค้า หรือบริการ ติดอันดับต้น ๆ ของ Google ได้ก็จะมีโอกาสอย่างยิ่งที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในโลกอิน เทอร์เน็ต แต่ในหน้าแรกของ Google มีที่ว่างให้เพียงแค่ 10 อันดับ กับผู้สนับสนุนของ Google ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็น ต่อคลิ๊กเท่านั้น คนทำ E-commerce ในธุรกิจเดียวกันบางทีมีมากกว่า 1 ล้านเว็บ แล้วมีเพียงแค่ไม่กี่รายที่ จะทำให้อยู่ใน Goolge ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะติด Google ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะขายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าและบริการ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ดีด้วย การทำการตลาดผ่านเว็บ หรือ Internet Marketing นั้น ในต่างประเทศมีแผนกนี้โดยเฉพาะ แต่ในประเทศไทย ยังไม่เห็นถึงความสำคัญเท่าที่ควร แต่ในอนาคต อันใกล้ จะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากใครเริ่มต้นทำ Internet Marketing ก่อน มีลู่ทางมากกว่าผู้ที่ทำทีหลังอยู่แล้ว
          4. เว็บไซต์ E-commerce เกือบทุกเว็บ จะขายเพียงอย่างเดียว ยัดเยียดให้ลูกค้า เข้ามาซื้อของในเว็บไซต์ แล้วคนที่เข้ามาในเว็บได้ประโยชน์อะไรกลับมาบ้างหรือเปล่า ??  เว็บไซต์ที่ดีไม่ได้เพียงแค่จะเอาเงินจากลูกค้าเพียงอย่างเดียว เราต้องให้อะไรกับลูกค้าก่อน ลูกค้าก็จะกลับเข้ามาซื้อสินค้าของเราเองในภายหลัง ซึ่งในส่วนนี้ อาจจะเป็น เรื่องของ บทความภายในเว็บ หากเว็บไซต์ ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ถ้าลูกค้าประสบปัญหา ไม่รู้จะเลือกยี่ห้อในดี เปรียบเทียบ สินค้า อะไรดี แทนที่ลูกค้าจะเข้าไปดู ถามข้อมูลจาก pantip.com หรือไปโพสถามเพื่อนจากเว็บบอร์ดต่าง ๆ แต่ถ้าเรามีสิ่งเหล่านี้อยู่ในเว็บเลย คนเข้ามาดูเว็บไซต์เรา ถึงวันนี้อาจจะไม่ใช่ลูกค้าเรา แต่เมื่อเขาต้องการซื้อสินค้าจริง ๆ เว็บที่เขาไปอ่าน หาข้อมูลบ่อย ๆ จะเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่คนเหล่านี้เข้ามาซื้อสินค้านั่นเอง


  ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ น.ศ.คิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจัยใดบ้าง 


1.การสร้างเว็บไซต์ให้น่าสนใจ   ในการออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจนั้น เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ ซึ่งหากเขาได้เห็นเว็บไซต์ของเราที่มีการออกแบบที่สวยงาม มีสิ่งที่สนองความต้องการของเขาแล้ว ก็จะทำให้เขาติดตามข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งองค์ประกอบที่ถือเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์คือ การมีภาพประกอบที่สื่อถึงตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่เราจะนำเสนอ ภาพนั้นจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้การโหลดภาพช้า จนอาจทำให้ผู้บริโภคคลิกไปยังเว็บไซต์อื่นได้
2.สร้างสังคมออนไลน์ภายในเว็บไซต์ของเรา           การที่จะให้ผู้บริโภคคลิกเข้ามาเว็บไซต์ของเรานั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อน ข้างยาก แต่เรื่องที่ยากกว่านั้นคือ การที่จะทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้ามาแล้วเกิดความสนใจเว็บเรา จนต้องจดจำหรือ Add URL ไว้ที่เครื่องของเขา หรือจะเข้ามาชมเป็นครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อ ๆ ไป ถือเป็นการยากกว่า แต่หากเราสร้างสังคมออนไลน์ให้เกิดขึ้น เช่นมีการแจก e-mail ฟรี ก็จะทำให้คนเข้ามาเช็คเมล์ ซึ่งบางคนเช็คทุกวัน เว็บไซต์ของเราก็มีคนเข้าทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้ง หรือการให้บริการด้าน chat room เป็นการสนทนาออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมจากการสนทนาในลักษณะนี้
3.กล้าตัดสินใจ          ประการแรกที่ต้องทำคือ ค้นคว้าหาข้อมูล สร้างจินตนาการ กลั่นกรองความคิด หาช่องทางและโอกาสเมื่อมองเห็น จงกล้าตัดสินใจดำเนินการ เพราะธุรกิจนี้ใช้เงินน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเปิดร้านขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือตึกแถวทั่วไป และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การขายสินค้าบนเว็บนี้ สามารถขายให้คนได้ทั่วโลกและมีอากาศทั้งค้าปลีก ค้าส่ง และค้าส่งออกเป็นล็อตใหญ่ ฉะนั้น เมื่อเห็นโอกาสจงอย่ารีรอเป็นอันขาด
4.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย  เงินลงทุนที่ใช้เพียงค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โมเด็ม และค่าโปรแกรม e-commerce นอกจากนี้ยังมีการซื้อโปรแกรมระบบ e-commerce ในอัตราเดือนละไม่ถึง 500 บาท ก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่หากท่านไม่มีคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และไม่ได้เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต เลยก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนี้ ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 25,000 บาท ค่าโมเด็ม ประมาณ 3,000 บาท และค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ตประมาณเดือนละ 500 บาท หรือรวมเบ็ดเสร็จแล้วลงทุนทั้งหมดอยู่ในราว 30,000 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น